วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยว จ. ร้อยเอ็ด

10. สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด






https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2&ie=utf-8&oe=utf-8&gws_rd=cr&ei=R7p4VsixPJWdugSX-r-QDg


 ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2
แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไมต่างๆ ร่มรื่นและในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ
หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง นอกจาก นั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้ง  
จัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่า สนใจ คือ


ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาว ร้อยเอ็ด 
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออก กำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้าง
พลานามัยแก่ชาว ร้อยเอ็ด 


https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1+%28%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%29&ie=utf-8&oe=utf-8&gws_rd=cr&ei=7bl4VsTyBcOjuQTHo7MQ



สถานที่ตั้ง 
         วัด ผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา) มูลเหตุในการก่อตั้งวัด  เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐา่นเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์
มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่า สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่า
ผา น้ำย้อย เพราะภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่า วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ครั้นต่อมา สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบ ตัดไม้บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปราม
ด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเป็นคนดี มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอัน จะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศ
ชาติ บ้านเมืองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน ตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติ
ของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้ความตรึงเครียด
้ทาง ด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นในขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น
เสนาสนะและสิ่งสำคัญ

เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546

    1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง
      2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
     3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป
      4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริม เหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
     5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร
     6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง
     7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง
     8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง
     9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง
     10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง
     11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง
     12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม.
     13. สร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขา ผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระเจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ
     14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหา เจดีย์ชัยมงคล
     15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตร สูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก
     16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผา น้ำย้อย 1 ตำหนัก
     17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง
     18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์

วัดบูรพาภิราม

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwijtN6Qu-7JAhWIC44KHc-RCuUQ_AUIBygB&biw=947&bih=630




  เขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ มาเป็นวัดบูรพาภิราม
มีพระพุทธรูปปางประทานพร ที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
ที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวน หลายห้อง ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59 เมตร 20
เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67 เมตร 85 เซนติเมตร นอกจากนี้หลวงพ่อใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด และปรากฏอยู่
ในคำขวัญของเมืองร้อยเอ็ดด้วย ด้านทิศ ตะวันออกของบริเวณวัดอยู่ติดกับคูรอบเมืองสมัย เก่า ซึ่งเป็นที่่ี่สร้างุศาลาศาล
เจ้าพ่อมเหศักดานุภาพ ซึ่งชาวเมืองร้อยเอ็ดเคารพนับถือมาก



วัดกลางมิ่งเมือง


https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&biw=947&bih=630&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwj-8M2jve7JAhVKBY4KHe2tAr4Q_AUIBygB


ตั้งอยู่บนเนินใจกลางเมืองเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐาน ว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยา
ตอนปลายในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำ พิพัฒน์สัตยา ปัจจุบัน เป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรมและ สถานที่สอบธรรมสถาน
ชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาด แสดงถึงพุทธ ประวัติ สวยงาม และมีค่าทางศิลปะ


วัดสระทอง

http://www.dooasia.com/roiet/048k002.shtml



“วัดสระทอง” ตามประวัติความเป็นมาของวัดสระทอง เดิมมีชื่อว่า วัดศรีมงคลจากหลักฐานก็คือมีชื่อเกี่ยวกับการตั้งโรงเรียนขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ดครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2543 ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดศรีมงคล เปิดสอนหนังสือแก่เด็กนักเรียน โดยมีพระภิกษุสามเณรในวัดศรีมงคลเป็นครูสอน เท่าที่มีชื่อปรากฏก็คือพระครูวินัยธรรส พระภิกษุสิงห์ สุวรรณบล พระภิกษุพิมพ์ สุวรรณบล และสามเณรผ่อง จรัสฉาย ขณะนั้นมีนักเรียน 20 คน วิชาที่สอนได้แก่ วิชาภาษาไทย และเลขคณิต สถานที่สอนใช้วิหารหลวงพ่อสังกัจจายน์ ต่อมาพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการสมัยนั้นได้ให้จังหวัดต่าง ๆ ตั้งโรงเรียนรัฐบาลขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา จึงส่งราชบุรุษจันทร์ อุตตมพรหม ขั้นมาเป็นครูคนแรกของจังหวัดร้อยเอ็ดและได้ไปสอนโรงเรียนวัดศรีมงคลโดยยกฐานะโรงเรียนขึ้นเป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด เพราะเห็นว่าเป็นโรงเรียนที่มีครูและนักเรียนอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2456 กระทรวงธรรมการได้ส่ง นายแม้น โปรานนท์ นายอยู่ สิทธิชัย มาเป็นครูสอนเพิ่มขึ้นอีก ชั้นเรียนที่เปิดสอนมีชั้นมูลประถมปีที่1,2,3 และชั้นประถมปีที่ 1,2,3 ในปีนี้ทางสมุหเทศบาลมณฑลร้อยเอ็ด คืออำมาตย์ตรี ม.จ.ธำรงศิริ ศรีธวัช ทรงเห็นว่าโรงเรียนวัดศรีมงคลสถานที่คับแคบไม่เพียงพอสำหรับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและสถานที่วัดก็ขยายให้กว้างขวางได้ยากมาก จึงได้ย้ายโรงเรียนมาเรียนที่ว่าการอำเภอเมืองเก่า ณ ริมคูเมือง จึงเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยปัจจุบันนี้   วัดสระทองที่เปลี่ยนชื่อจาก วัดศรีมงคลตั้งแต่เมื่อใดนั้นสันนิฐานกันว่าคงจะเปลี่ยนหลังจากย้ายโรงเรียนไปจากวัด ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดสระทอง คงจะเป็นการเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานที่ตั้งวัด เพราะที่ตั้งวัดสระทองชาวบ้านเรียกสระในวัดว่าสระทอง ในตัวเมืองร้อยเอ็ดมีสระชื่อต่าง ๆ หลายสระ เช่น สระทอง สระแก้ว สระดู่ สระสิม สระขวาง สระบัว ปัจจุบันสระต่าง ๆ ชาวบ้านก็ยังเรียนขานกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำในสระทอง สระแก้ว ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ในราชพิธีต่าง ๆ ทางราชการก็ได้นำน้ำจากสระดังกล่าวนี้ไปทำพิธีเพื่อความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล


https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87&biw=947&bih=630&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwigr4Cdv-7JAhWFBY4KHZlVD2IQ_AUIBigB#tbm=isch&q=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%94

จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของ
จังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหม และ ผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองจึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน
ทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่
งบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคารต่อเนื่อง มาจนกระทั่ง ปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์
ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัด แสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุม
และนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการ จัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหมได้แก่ ระบบสารสนเทศ
การทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทันสมัย
ที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร





เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง อยู่หน้าศาลา กลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีเนื้อที่ประมาณ 225 ไร่ ตกแต่งบริเวณด้วยไม้
ดอกไม้ ประดับนานา พันธุ์ และต้นไม้น้อยใหญ่เพื่อให้ความร่มรื่น จุดเด่น ของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวนที่พุ่งฉีดในระดับสูง
มีหอนาฬิกากลางเมืองสวยเด่นเป็นสง่า แก่เมืองร้อยเอ็ด มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชนสถานที่แห่งนี้ ใช้เป็นสถานที่
จัดงาน เทศกาลและพิธีการต่างๆ ของจังหวัด เช่น งานปีใหม่


สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ




 สถานที่แสดงพันธ์สัตว์น้ำตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรเทพ(หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 อาคารเชื่อม
ต่อกันอาคารแรกประกอบด้วยห้องโถง ห้องบรรยายห้องนิทรรศการ สำนักงาน ห้องจำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนอาคารที่ 2
เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็น ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วยตู้ปลาขนาดเล็กที่ ฝังอยู่ในผนังรอบ ๆ อาคาร จำนวน 24 ตู้
กลางอาคาร เป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ป่วย ด้านนอกของ
ตัวอาคารจะมีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่ตัวอาคาร โดยจัดเป็นสวนหย่อมและปลูกไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบของตัวอาคาร
พร้อมทั้งจัดให้ ้มีลานจอดรถสำหรับผู้เข้าชมอีก 2 จุด มีอุโมงค์แก้ว ผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ชั้นบนของ
้อาคารเป็นบ่อพักน้ำ ถังกรองน้ำบ่อพัก และสำรองพันธุ์สัตว์น้ำไว้สำหรับสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดนี้
เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม เด็ก 5 บาท ผู้ใหญ่ 10 บาท และชาวต่างประเทศ 30 บาท
สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4351 1286






 ตั้งอยู่บ้านน้อยหัวฝาย  หมู่ที่ 8  ตำบลรอบเมือง  อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  (เริ่มก่อสร้าง ปี 2545 )
สร้างขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ  ของจังหวัดร้อยเอ็ดในอนาคต  เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน
ออก กำลังกายของประชาชน  พื้นที่สวนห้อมล้อมด้วยบึงขนาดใหญ่  ประกอบด้วยรูปหล่อสวยงามของพระเวสสันดรชาดกทั้ง  13 กัณฑ์
งบประมาณ จำนวน  28,700,000 บาท  โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นผู้ดำเนินการ

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี

สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดี

เป็น โครงการสวนพกฤษศาสตร์ในวรรณคดี   ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติดงมะอี่ ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 85 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ เป็นเนื้อที่สำหรับปลูกต้นไม้แบ่งสำหรับปลูกต้นไม้ แบ่งตามวรรณคดี เช่น เรื่องพระเวสสันดร ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลานพุทธประวัติ ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรแยกตามสรรพคุณบริเวณสวนมีสภาพภูมิประเทศสวยงาม  





ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ ตำบลมะอึอำเภอ ธวัชบุรี หรือสายร้อยเอ็ด – โพนทอง ประมาณ 8 กิโลเมตร
มีทางแยกด้านขวามือ เข้าปรางค์กู่ประมาณ 1กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าวัดศรีรัตนารามปรางค์กู่ตั้งอยู่ภายในวัดปรางค์กู่
เป็นกลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบ เดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คือ อโรคยศาสล ตามที่ ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม
อันประกอบด้วยปรางค์ ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซ้อมประตูและสระน้ำ นอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร
โดย เฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และ มีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบนอาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ ทางวัดก็ได้จัดบริเวณ
ให้ดูร่มรื่นสะอาดตา นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ ใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บ
รักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทรายสลัก เป็นภาพบุคคล นั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายใน ซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล
จากการสอบถามเจ้าอาวาส วัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็น ทับหลังหน้าประตูมุข ของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่ง
มีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้น ส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลง
เป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุุว่าสร้างราว พุทธศตวรรษที่ 18


กู่กาสิงห์




ตั้ง อยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร
มีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215
ต่อด้วย 214) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18 กิโลเมตร กู่กาสิงห์
เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ขณะนี้สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานีกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะให้เห็นสภาพชัดเจนสวยงามยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ที่เรียกว่าบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง4ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อม
รอบ อีกชั้นหนึ่ง ปรางค์ประธาน หรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาวมีประตูทาง
เข้า 3 ทางคือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็น
แนวเช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือ ส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร)
และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความ เชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพ
พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาลซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลัก
เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐาน
ก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุ
ุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน"อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศ
ถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์


กู่พระโกนา




กู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ การเดินทาง จากจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางตามทางหลวงสาย 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง แล้วเข้าสาย 202 ผ่าน อ.สุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนาระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากตัวจังหวัดปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไป ทางด้านซ้ายมือด้านหน้าจะเป็นสวนยางกู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า ออกทั้งปรางค์องค์ กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาท ประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้าส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัด เช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลางองค์ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับ เศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์ อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกันแต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักรามายณะและประทับสลัก ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิมคือเหนือประตูทาง ด้านหน้า  ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บน พื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้ ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตูซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16

ทุ่งกุลาร้องไห้




 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทุ่งกุลาร้องไห้

เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีพื้นที่กว้างประมาณ 2 ล้านไร่ มี
อาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดยโสธรสาเหตุที่ทุ่งกว้างแห่งนี้ได้
ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ นั้นก็ด้วยมีเรื่องเล่ากันว่า พวกกุลาซึ่งเป็นพวกที่เดินทาง
ค้าขาย ระหว่างเมืองต่าง ๆ ในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้ คือมี
ความเข้มแข็ง อดทนเป็นเยี่ยม แต่เมื่อพวกกุลาเดินทางมาถึงทุ่งนี้
ได้รับความทุกข์ยากเป็นอันมากจนถึงกับร้องไห้เพราะ ตลอดทุ่งนี้ไม่มีน้ำ
หรือต้นไม้ใหญ่เลยฤดูแล้งแผ่นดินก็แห้งแตกเป็นระแห่ง ปัจจุบันทุ่งกว้างใหญ่นี้
ได้รับการพัฒนาจากส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆบางแห่งก็ทำการ
เกษตรกรรม จนกลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน
หรือบางแห่งก็ใช้ เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ซึ่งนับแต่จะมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ
ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ 6 กิโลเมตร
เลยกู่พระโกนาไปเล็กน้อย





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บึงเกลือ

 บึงเกลือ(บุ่งเกลือ) อยู่ในเขตตำบลเมืองไพรอำเภอเสลภูมิ ห่างจากตัวอำเภอ
เสลภูมิไปทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่
มีเนื้อที่ 7,500 ไร่ ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาดกว้างขวางในวันหยุดจะมี
นักท่องเที่ยวมาพักผ่อนกันมาก


เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์



 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์เป็นหน่วยงาน ราชการที่สังกัดกระทรวงป่าไม้กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ มีพื้นที่ประมาณ151,242 ไร่ หรือประมาณ242 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ บางส่วนในท้องที่ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด อ.กฉินารายณ์, อ.คำชะอี, อ.นิคมคำสร้อย, อ.หนองสูง และ อ.เมือง จ.มุกดาหาร เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผา น้ำทิพย์นับว่ามีความสำคัญด้านนิเวศน์วิทยา มีความ หลากหลายด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นป่าต้นน้ำลำธารหลายสายที่หล่อเลี้ยงชีวิตราษฎรใน จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร และ จ.กาฬสินธุ์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในท้องที่ อ.บึงงาม อ.หนองพอกจ.ร้อยเอ็ด มีหน่วยพิทักษ์ป่า ที่ตั้งอยู่รอบแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 4 หน่วย
ลักษณะภูมิประเทศ 
โดย ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200-600 เมตร ประกอบก้วยป่าดงดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็ง รัง ซึ่งสภาพป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มากภาพทิวทัศน์บริเวณผาหมอกมิวาย
สัตว์ป่า ที่พบในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ มีหลายประเภท แบ่งได้ ดังนี้
1.              สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู่ป่า, เก้ง, ลิง, สุนัขจิ้งจอก, อีเห็น, กระรอก, กระแต ฯลฯ
2.              สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งูจงอาง, งูเหลือม, งูเห่า, งูเขียว ฯลฯ
3.              สัตว์ปีก เช่น เหยี่ยว, นกบั้งรอกใหญ่, นกโพ ระดก, นกปรอดเหลืองหัวจุก และนกอพยพหนีหนาวมา
จุดชมวิวผาหมอกวิวาย
จากไซบีเรียทางตอนเหนือของประเทศจีนพรรณไม้ เนื่องจากสภาพป่าในเขตห้าล่าพันธ์สัตว์ป่าถ้ำ ผาน้ำทิพย์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ทางเศรษฐกิจ จึงยังคงมีอยู่มาก เช่น ตะเคียน พยัง มะค่าโมง ลูกดิ่ง รวมทั้งสมุนไพร